😴วัยทำงานหลายๆคนคงกำลังเผชิญกับปัญหานอนน้อย นอนไม่พอ หรือต้องอดนอนอยู่เป็นประจำบางคนก็มองข้ามปัญหานี้ไปคิดว่า ร่างกายเรายังแข็งแรงยังมีพลังในการทำกิจกรรมหลายๆอย่างอีกมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการอดนอนนั้นส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คุณคิด
🛌เราถูกสอนมาเสมอว่าการนอนที่ดีคือการนอนให้ได้อย่างน้อย 8ชั่วโมง แต่ความจริงนั้นเราอาจจะไม่ต้องนอนให้ครบ 8ชั่วโมงก็ได้ เพียงแต่ต้องเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพเพียงพอค่ะ 💁🏻♀️สิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าเรานอนหลับเพียงพอหรือไม่นั้นสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้ -รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นเช้ามา ยังอยากจะนอนต่ออีก -ระหว่างมีอาการหาวอยู่เรื่อยๆ -ถ้ามีโอกาสได้หลับเมื่อไหร่คุณสามารถหลับได้ภายใน 5นาทีเท่านั้น 💤ถ้าการนอนน้อยเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันมันก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตเรามาก แต่ถ้าเรายังอดนอนต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนมากขึ้นได้ โดยการอดนอนนั้นจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย อารมณ์ และการทำงานของสมอง ดังนี้
1️. ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มีผู้กล่าวว่าถ้าร่างกายมีพลังงานอยู่ 100% เราจะใช้ในชีวิตจริง 70% และเหลืออีก 30%ไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ป่วยไข้ หรือเอาไว้ใช้ตอนเราที่อดนอนมา ยิ่งถ้าเรานอนน้อยพลังงานสำรองเราก็จะน้อยตามไปด้วยเพราะถูกใช้ไปหมดในวันก่อนๆแล้ว 2️. ทำให้เกิดโรคอ้วน การที่เราตื่นอยู่นานแบบอดนอนทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น เราจึงรู้สึกอยากทานอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่กระตุ้นให้เรารู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้นอีก เช่น การดูทีวี หรือเล่นโทรศัพท์รอบดึกก็มีผลให้อยากทานอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย 3️. ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโต โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เนื่องจากการอดนอนจะทำให้ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตถูกสร้างน้อยลง รวมถึงภูมิคุ้มกันถูกรบกวนด้วย 4️. ทำให้กระบวนการเรียนรู้ช้าลง การอดนอนจะส่งผลให้การทำงานของสมองส่วนต่างๆทำงานผิดปกติไป เช่น สมองส่วนหน้าสุด (prefrontal cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูด (verbal learning tasks) แย่ลง ส่วนกลีบสมองบริเวณขมับ (Temporal lobe) จะทำให้การเรียนรู้ด้านภาษา (language processing) ช้าลง 5️. ทำให้เกิดอาการงีบหลับสั้นๆ หรือที่เรียกว่า “หลับกลางอากาศ” หรือ “หลับใน” เกิดจากการที่สมองส่วนธาลามัส (Thalamus) หยุดทำงานช่วงสั้นๆ แบบชั่วคราว ทำให้เกิดอาการงีบหลับ ไม่ตื่นตัว หรือรับรู้ได้ช้า หรือที่เราเรียกว่า “หลับใน” ซึ่งจะอันตรายมากถ้าเกิดขึ้นระหว่างที่เราขับรถ หรือระหว่างการทำงานที่ต้องใช้ความเร็วหรือความแม่นยำอยู่ด้วย 6️. ทำให้เกิดอาการทางจิต การอดนอนชนิดรุนแรงจะทำให้เกิดโรคทางจิตขึ้นได้ เช่นอาการหูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน หรือมีความระแวงว่าจะมีคนมาทำร้ายอยู่ตลอดเวลา 🛌ดังนั้นการจะรักษาอาการนอนไม่พอที่ดีที่สุดนั่นก็คือ การนอนให้เพียงพอ บางคนอาจมีความจำเป็นที่จะต้องอดนอนเราจึงต้องหาเวลานอนพักระหว่างวันเพื่อชดเชยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ 🙏🏻ขอบคุณข้อมูล bangkokhospital.com
Commentaires